ต้องทำความเข้าใจกันใหม่แล้วล่ะค่ะ เพราะความเป็นจริงแล้วชั้นขี้ไคลก็คือ ชั้นหนังกำพร้า ที่เกาะติดอยู่บนผิวหนังชั้นบนควบคู่ไปกับชั้นน้ำมันเคลือบผิว ซึ่งทำหน้าที่เป็น เกราะที่คอยคุ้มครองปกป้องผิวหน้าจากฝุ่นละออง เชื้อโรคและสารเคมีต่างๆ ไม่ให้ซึมผ่านลงไปทำร้ายผิวได้ง่ายๆ และยังช่วยป้องกันไม่ให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นด้วย นอกจากนี้ยังช่วยกันรังสียูวีได้ส่วนหนึ่ง
โดยปกติแล้ว เราจะมีขี้ไคลที่ผิวหนังทุกส่วนในร่างกาย แต่จะมีมากที่สุด ที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า เพราะเป็นส่วนที่ต้องสัมผัสสิ่งต่างๆ ตลอดเวลา
โดยทั่วไป ขี้ไคลจะหลุดลอกออกไปตามธรรมชาติ ซึ่งระยะเวลาที่หนังกำพร้าจะดันตัวเองออกมาเป็นขี้ไคลจะใช้เวลาประมาณ 2 - 4 สัปดาห์
ดังนั้นหากคุณทั้งเช็ด ทั้งถู มากเกินไป บางคนอาจชอบขัดผิวด้วยสครับทุกวัน เพราะรู้สึกว่าผิวจะสะอาดหมดจด แต่นั่นอาจเป็นการทำลายส่วนที่ปกป้องผิวหนังตามธรรมชาติ หากต้องการขัดผิวก็ไม่ควรเกินอาทิตย์ละครั้ง ก็เพียงพอแล้ว หากเราขัดผิวทุกวันจะทำให้สูญเสียชั้นน้ำมัน และชั้นขี้ไคล สิ่งที่เกิดตามาก็คือผิวของคุณจะ เปราะบาง ขาดภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ เราจะพบว่าคนที่ล้างหน้าบ่อย ๆ ใช้น้ำยา ใช้โทนเนอร์เช็ดหน้า มักจะมีปัญหา ผิวแห้ง ผิวแพ้ง่าย กลายเป็นผิวบอบบาง แพ้เป็นผื่นหรือคันได้ง่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น